บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
กลุ่ม 103 วันจันทร์ 11:30-14:00
วันที่ 3 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557
การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
กลุ่ม 103 วันจันทร์ 11:30-14:00
วันที่ 3 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557
สัปดาห์นี้อาจารย์บอกคะแนนสอบและเฉลยข้อสอบทีละข้อพร้อมอธิบายว่าข้อไหนตอบอะไรบ้าง ดิฉันยังไม่เข้าใจและไม่ได้อ่านเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นมากเท่าไรจึงหาเพิ่มเติม
ความบกพร่องทางการมองเห็น (Visual Impairment)
ความบกพร่องทางการมองเห็น (Visual Impairment) คือการสูญเสียการมองเห็น (Vision Loss) จนถึงระดับหนึ่ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความสามารถในการมองเห็นที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งอาจเกิดจากโรค (Disease) การบาดเจ็บ (Trauma) รวมถึงความผิดปกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด (Congenital conditions) หรือเสื่อมสภาพในภายหลัง (Degenerative conditions)ในปัจจุบันเด็กจำนวน 1 ใน 5 ประสบปัญหาเกี่ยวกับความบกพร่องในการมองเห็น อย่างไรก็ตามเด็กมักไม่รู้ว่าตนเองมีความบกพร่องทางการมองเห็น เนื่องจากเด็กที่มีปัญหาส่วนใหญ่เติบโตขึ้นมากับอาการดังกล่าวโดยไม่รู้ว่า การมองเห็นที่ปกตินั้นเป็นอย่างไร อีกทั้งยังมักเข้าใจว่าคนอื่นก็เห็นโลกในลักษณะที่ไม่ต่างไปจากที่เขาเห็น เช่นกันปัญหาในการมองเห็นของเด็กอาจติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด แต่ส่วนใหญ่มักเริ่มเมื่อเด็กอายุ 18 เดือนถึง 4 ขวบ อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กโตขึ้นจนถึงวัยเรียนและสายตาพัฒนาอย่างเต็มที่เมื่ออายุ 10 ปีหรือแม้กระทั่งโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่แล้ว ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น อุบัติเหตุและสิ่งแวดล้อมรอบตัวก็อาจเป็นสาเหตุของปัญหาความบกพร่องทางการ มองเห็นได้ความบกพร่องทางการมองเห็นย่อมส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งในทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากการเรียนรู้พัฒนาการทางด้านต่างๆและทักษะการใช้ชีวิตของเด็กล้วน เชื่อมโยงกับการมองเห็น ดังนั้นเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นจึงอาจมีพัฒนาการที่ไม่ปกติหรือ ไม่สมบูรณ์พร้อม อีกทั้งมักจะมีนิสัยขี้หงุดหงิดและพฤติกรรมเกรี้ยวกราดอันเกิดจากความไม่ได้ ดั่งใจในข้อจำกัดของตนเอง
ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
- กลุ่มที่มองเห็นได้บางส่วน (Partially Sighted) หมายถึง เด็กที่มีปัญหาทางการมองเห็นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เป็นคำที่นิยมใช้ในบริบททางการศึกษาเพื่อสื่อถึงภาวะการมองเห็นที่ไม่ สมบูรณ์มากกว่าความพิการ เด็กบางส่วนในกลุ่มนี้อาจต้องได้รับการศึกษาพิเศษ
- กลุ่มสายตาเลือนราง (Low Vision) หมายถึง กลุ่มที่มีปัญหาทางการมองเห็นที่รุนแรง คือไม่สามารถอ่านหนังสือพิมพ์ในระยะปกติได้แม้จะใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ ในการเรียนรู้ เด็กกลุ่มนี้ต้องใช้การมองเห็นร่วมกับประสาทสัมผัสอื่นๆรวมถึงใช้การช่วย เหลืออื่นๆ เช่น การปรับแสง ขนาดตัวอักษร หรือแม้กระทั่งการใช้อักษรเบรลล์ ความผิดปกติส่วนใหญ่ของกลุ่มสายตาเลือนราง แบ่งเป็น ภาวะสายตาสั้น (Myopic) และภาวะสายตายาว (Hyperopic)
- กลุ่มพิการทางสายตาตามกฎหมาย (Legally Blind) หมายถึงผู้ที่มีระดับการมองเห็นต่ำกว่า 20/200 หลังจากที่ใช้อุปกรณ์ช่วยในการมองเห็นแล้ว รวมทั้งมีลานสายตา (Visual Field) สูงสุดไม่เกิน 20 องศา
- กลุ่มตาบอดสนิท (Totally Blind) เป็นความบกพร่องทางการมองเห็นระดับรุนแรงที่สุด เด็กต้องเรียนรู้ผ่านอักษรเบรลล์ (Braille) หรือสื่อที่รับได้โดยไม่ต้องมองเห็น (Non-visual media)
- กรรมพันธุ์ (Heredity) โดยความผิดปกติจะสามารถถ่ายทอดมาถึงเด็กได้หากครอบครัวมีประวัติสุขภาพของ ครอบครัว (Family History) ที่เกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อ (Familial Cataract) โรคกล้ามเนื้อจอตาเจริญผิดเพี้ยน (Retinal dystrophies) และมะเร็งจอตา (Retinoblastoma)
- ระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน (Rubella) และโรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
- ระหว่างคลอด เช่น โรคจอตาผิดปกติอันเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด (Retinopathy of prematurity) และอาการเยื่อบุตาอักเสบในเด็กแรกเกิด (Newborn Conjunctivitis)
- ในวัยเด็ก เช่น การขาดแคลนวิตามินเอ (Vitamin A Deficiency) โรคหัด (Measles) ตาอักเสบ (Eye Infection) ยารักษาตาแผนโบราณ (Traditional eye medicines) และอุบัติเหตุ (Injuries)
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องเรียบร้อย อาจารย์บอกคะแนนสอบและเฉลยข้อสอบคะแนนได้ไม่ดีเพราะตั้งใจอ่านหนังสือสอบมากคิดว่าน่าจะได้เยอะกว่านี้ผิดหวังนิดหน่อย แต่ไม่เป็นไรผ่านก็ดีแล้วครั้งหน้าจะตั้งใจมากกว่านี้
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย เพื่อนๆได้คะแนนสอบกันเยอะมาก แต่ละคนคะแนนสอบดีๆทั้งนั้นแทบไม่มีคนตกเลยสักคน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์บอกคะแนนสอบและเฉลยข้อสอบและอธิบายข้อสอบแต่ละข้อเพื่อให้เราเข้าใจมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น