วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

                           บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
                การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
                   กลุ่ม 103 วันนจันทร์ 11:30-14:00
                วันที่ 10 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557




การสื่อความหมายทดแทน

<Augmentative and Alternative Communication : AAC> 


Picture Exchange Communication System <PECS>

เป็นโปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสารของเด็ก Autistic ใช้บอกว่าเราจะทำอะไรเรียงเป็นประโยคได้ใช้แทนการพูดของเด็ก Autistic






 
หนูต้องการนม

    Visual Strategies <การรับรู้ผ่านการมอง>
   
         มีคำกล่าวว่า “ ภาพหนึ่งภาพแทนคำพันคำ ” ภาพที่จะเริ่มใช้กับเด็กออทิสติกควร
     จะเป็นภาพที่เชื่อมโยง กับสิ่งรอบๆ ตัว เช่น คน สัตว์ สิ่งของ หรือสัญลักษณ์ (โลโก้) 
     ที่เด็กสนใจใกล้ตัว เพื่อเป็นการให้เด็กสะสมคำศัพท์ให้มากพอจะใช้สื่อสารได้ และสื่อ
     ให้รู้ชัดว่าใคร / ทำอะไร / ที่ไหน / เมื่อไหร่ / อย่างไร / กับใครหรือกับอะไร ?
            
                   
              ตัวอย่าง การสื่อสารโดยภาพเพื่อสอนเรื่องการรับประทานอาหาร
 



         
 


 
 วิธีการ
         
          1. นำรูปภาพทั้งหมดให้เด็กดูทีละภาพ พร้อมกับบอกว่าแต่ละรูปคืออะไร
          2. เรียงรูปภาพตามลำดับ พร้อมชี้บอกความหมายของภาพนั้น เช่น
             กินแฮมเบอร์เกอร์ รสไก่ ที่ร้านแม็คโดนัลด์ ล้างมือ เช็ดมือ
          3. พูด ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งและบ่อยๆ
          
  Communication Devices <เครื่องโอภา>




โอภา รุ่น 2.3 เสริมฟังก์ชันพิเศษให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วมือได้ หรือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนทำให้กดปุ่มสัญรูปบนหน้ากล่องโอภาได้ เพิ่มฟังก์ชัน การสแกนปุ่มโดย มีหน้าปัทม์แสดงตัวเลขบอกการสแกนไปที่ช่องหมายเลข ผู้ใช้สามารถเลือกช่องหมายเลขนั้นๆ โดยการกดสวิตช์เดี่ยวที่พ่วงต่อกับโอภา หรือเลือกใช้รีโมท คอนโทรลในการเลือกหมายเลขช่องสัญรูป ในกรณีที่ผู้ใช้มีการบังคับและควบคุมกล้ามเนื้อได้


โปรแกรมปราศรัย



ปราศรัยเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างโปรแกรมช่วยสื่อสารเพื่อช่วยเหลือผู้ที่สูญเสียความสามารถ ในการพูดให้สามารถสื่อสารกับบุคคลรอบข้างผ่านคอมพิวเตอร์ โดยใช้สัญรูปแทนการสื่อความหมาย คอมพิวเตอร์ ปราศรัยได้รับแนวคิดมาจากการใช้เครื่องช่วยสื่อสารด้วยเสียงพูด (augmentative alternative communication) มาทดแทนเสียงจริงที่ผู้ใช้สูญเสียไปหรือมีความบกพร่องทำให้ ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจได้ ปราศรัยทำหน้าที่เป็นเสมือนกล่อง ที่บรรจุเสียงพูด ที่ใช้ในการสนทนาไว้อย่างไม่จำกัดจำนวน โดยใช้หลักการจัดเก็บฐานข้อมูลของเสียงด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย โดยแบ่งเสียงแบ่ง เป็นหมวดหมู่ ตามการใช้งาน ซึ่งแต่ละเสียงจะหน่วยประกอบด้วยเสียงพูด รูปภาพและ ข้อความปราศรัยยังมีโปรแกรมบรรณาธิกรณ์ช่วยให้สามารถเพิ่มและลบ ข้อความ / เสียง /รูปภาพได้ อย่างไม่จำกัด ผู้ที่บกพร่อง ทางการออกเสียง สามารถใช้งานโปรแกรมนี้ ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย เพียงเลือกคลิกสัญรูปที่ต้องการสื่อความหมาย หรือกดสวิตช์เดี่ยวเมื่อใช้กับฟังก์ชันสแกน ก็จะมีเสียง ของข้อความที่ต้องการสื่อสารเปล่งออกมา

ประเมินตนเอง

  เข้่าเรียนตรงเวลา วันนี้ตั้งใจเรียนบ้างแต่คุยเยอะไปหน่อย ทำให้ไม่เข้าใจเนื้อหาเท่าที่ควรสัปดาห์หน้าหนูจะพยายามคุยให้น้อยลงค่ะ

ประเมินเพื่อน

 เพื่อนๆแต่งกายถูกต้องเรียบร้อย เพื่อนบางกลุ่มตั้งใจเรียน บางกลุ่มก็คุยกันบ้างแต่ก็ตั้งใจเรียนกันทุกคน

ประเมินอาจารย์
 
 อาจารย์แต่งกายสุภาพ น่ารักใจดี มีการเตรียมการเรียนการสอนมาดีทุกครั้ง อาจารย์อธิบายได้ชัดเจนและมีการนำรูปภาพมาให้ดูประกอบทำให้เข้าใจบทเรียนมากขึ้น
 
                                                                            



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น